วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสูง

ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กบ้านโนนสูง
 



บุคลากรหรือเพื่อนร่วมงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนสูง



กิจกรรมเด่นในชั้นเรียน
       คือกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ลงมือปฏิบัติจริง  นอกจากมีกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมแล้ว ยังได้สอนกิจกรรมแบบโครงงาน. การศึกษานอกสถานที่ และศึษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้ยกตัวอย่างภาพกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ดังนี้
 
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างพร้อมอุปกรณ์ ประกอบเพลง





กิจกรรมเสริมประสบการณ์   เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีที่ได้จากธรรมชาติและประเภทของสี







กิจกรรมสร้างสรรค  เป็นกิจกรรมการพิมพ์จากสีธรรมชาติและการวาดภาพระบายสีตามจินตนาการ








นำเสนอผลงานพร้อมบอกชื่อผลงาน



กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมการเล่นตามมุมประสบการณ์ 








กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นกจกรรมส่งลูก  รับลูกบอลโดยการแตะเข้าโก






กิจกรรมเกมการศึกษา   กิจกรรมการจับคู่ภาพเหมือนและการต่อภาพตัดต่อ






การเรียนรู้จากประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมโครงงาน




กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่และศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน


ความรู้ที่ผู้ปกครองควรรู้ คือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในแต่ละวัย แต่ละสัปดาห์  และการส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้  โดยการแจกแผ่นพับหน่วยการจัดประสบการณ์แต่ละสัปดาห์ให้ผู้ปกครอง




วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

แผนการจัดประสบการณ์การศึกษาปฐมวัย

                                  แผนการจัดประสบการณ์การศึกษาปฐมวัย สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
                        สัปดาห์ที่ 30  วันที่ 27  สาระการจัดประสบการณ์ที่ 3 เรื่องราวเกี่ยวกับวันสำคัญ
                                  หน่วยการจัดประสบการณ์  วันขึ้นปีใหม่
                                  หน่วยการจัดประสบการย่อย การเลือก การจัดหาของขวัญ และการจับฉลากของขวัญ

1. ชื่อกิจกรรม เสริมประสบการณ์
2. การเตรียมสื่อเพื่อจัดกิจกรรม
     1)  iPad
     2)  โปรแกรม กล้อง ( ถ่ายภาพ VDO )
     3)  กล่องของขวัญ
     4)  เพลง " ไชโยปีใหม่ "
3. สาระการเรียนรู้
     1)  สาระที่ควรรู้
           1.1 ของขวัญปีใหม่ การเลือกของขวัญ
     2)   ประสบการสำคัญ
            2.1 การปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่น
            2.2 การยอมรับกฎกติกา และข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม
            2.3 การรับรู้และการแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ  iPad
4. จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรม
      1)  บอกของขวัญประเภทใดควรให้กับใครได้
      2)  ปฏิตามข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนของขวัญได้
      3)  ร่วมกิจกรรมกับครู ผู้ปกครอง และเพื่อนๆได้
5. วิธีการจัดกิจกรรม
      1)  ครูและเด็กสนทนาถึงการเลือก การจัดหาของขวัญและการจับฉลากของขวัญ
      2)  เด็กคิดของขวัญ คนละ 1 ชิ้น ที่จะให้เพื่อนที่เรารัก ให้เด็กตอบทีละคน
      3)  ครูพาเด็กๆร้องเพลง " ไชโยปีใหม่ " พร้อมทำท่าประกอบ แล้วถ่ายภาพหรืออัด VDO จาก iPad เสร็จแล้วเปิดให้เด็กดู
           แล้วครูและเด็กก็ร่วมกันร้องเพลง " ไชโยปีใหม่ " ตาม VDO อีกครั้ง
      4)  จับฉลากแลกเปลี่ยนของขวัญ
      5)  ครูและเด็กร่วมกันสรุปถึงการเลือก การจัดหาของขวัญและการจับฉลากแลกเปลี่ยนของขวัญ
6. การประเมินผล
       1)  สังเกตการบอกขวัญประเภทใดควรให้กับใคร
       2)  สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
       3)  สังเกตการร่วมสนทนาและตอบคำถาม
7. เครื่องมือประเมินผล
       1)  แบบบันทึกผลหลังสอนหรือการจัดประสบการณ์
 
  บันทึกผลการัดประสบการณ์
ผลที่เกิดกับผู้เรียน
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
     1) นักเรียนส่วนใหญ่สามารถบอกของขวัญประเภทใดควรให้กับใครได้และสามารถคิดและบอกชื่อของขวัญที่จะมอบให้เพื่อนรักได้
     2) นักเรียนทุกคนสามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนของขวัญได้
     3) นักเรียนนทุกคนสามารถร่วมกิจกรรมกับครู ผู้ปกครอง และเพื่อน ๆได้อย่างมีความสุข สนุกสนาน  ร่าเริง แจ่มใส และชอบใจ ตื่นเต้นที่ได้เห็นตัวเองเข้าไปอยู่ในจอ iPad





      


     
       

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกวันที่ 1

สภาพ  วันนี้ได้จัดกิจกรรมการพัฒนาทางภาษา  โดยการร้องงเพลงและทำท่าทางประกอบเพลง เช่นเพลงแตงโม แปรงฟัน แอปเปิ้ลเป็นต้น กิจกรรมนี้จัดขึ้นในห้องเรียน  เป็นการจัดกิจกรรมแบบเรียนรวม  ไม่แยกเกณฑ์อายุ  เด็กมีความสนใจในระยะเวลาที่แตกต่างกัน เด็กบางคนสามารถพัฒนาทางภาษาในการร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงได้สัมพันธ์กันได้ตลอดกิจกรรม เด็กบางคนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้บางครั้ง  มีเด็กส่วนน้อยที่ไม่สนใจกิจกรรม  เด็กๆส่วนใหญ่สามารถร่วมกิจกรรมกับครูและเพื่อนๆได้อย่างสนุกสนานมีความสุข สามารถสื่อสารทางภาษาได้ถูกต้อง

ปัญหา   - เด็กบางคนยังร้องเพลงตาามเนื้อเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงไม่ได้ตลอดจนจบเพลง
           - เด็กที่มีอายุน้อยมีความสนใจเป็นระยะเวลาสั้นๆ เบื่อง่ายไม่ปฏิบัติกิจกรรม

การแก้ไขปัญหา  -  นำเด็กร้องเพลงเดิมซำ้หลายๆรอบ แล้วค่อยฝึกทำท่าทางประกอบเพลง
                     -  แยกเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม  โดยปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันเหมือนเช่นเดิม


    เด็กร่วมกิจกรรมร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงร่วมกับครูและเพื่อนๆ


บันทึกวันที่ 3

สภาพ  วันน้ีได้นำปัญหาของเด็ก 2-3 คนในบันทึกวันที่ 2 มาแก้ปัญหา โดยการเปลี่ยนจากการร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงโดยไม่มีอุปกรณ์ มาเป็นการร้องเพลง ทำท่าทางประกอบเพลงพร้อมอุปกรณ์ ได้แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม ให้เด็กกลุ่มหนึ่งร้องเพลงและทำท่าทางปะกอบเพลงให้เข้ากับจังหวะกับเด็กอีกกลุ่มที่รัองเพลงพร้อมกับใช้อุปกรณ์ อุปกรณ์หรือเครื่องดนตรีที่ใช้ในการเคลื่อนไหวประกอบเพลงได้แก่ กลอง ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น ซึ่งในกลุ่มของเด็กที่ใช้อุปกรณ์นั้นมีเด็ก 2-3คนนั้นรวมอยู่ด้วย  เด็กมีความสนใจมากขึ้นตามลำดับ  เด็กส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาในการร้องเพลง และทำท่าทางประกอบเพลงได้ประสานสัมพันธ์กันได้เหมาะสมตามวัย เด็กๆสามารถร่วมกิจกรรรมได้จนจบกิจกรรม เด็กๆส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆและครูได้อย่างมีความสุข สนุกสนาน แต่ก็ยังมีเด็กบางคนที่เกิดการเบื่อหน่ายกับกิจกรรมซำ้ๆ

ปัญหา  เด็กบางคนเกิดเบื่อหน่ายกิจกรรมซำ้ๆ

การแก้ไขปัญหา  ให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามแผ่นเพลง VCD ที่ครูเปิดให้ดู ให้เด็กร้องตามและทำท่ทางประกอบ


               เด็กๆร่วมกิจกรรมได้อย่างมีความสุขและสามารถใช้พัฒนาภาษาให้ประสานสัมพันธ์กันได้




บันทึกวันที่ 2


สภาพ  จากปัญหาที่พบในวันที่ 1 วันนี้จึงได้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยการจัดกิจกรรมการร้องเพลงและทำท่ทางประกอบเพลง โดยการแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มให้ยื่นเป็นวงกลม แยกตามเกณฑ์อายุ ครูพาเด็กๆร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงซำ้หลายๆรอบ เด็กๆจนเด็กๆทำได้แล้วเปลี่ยนเพลงใหม่ไปเรื่อยๆเพื่อไม่ไห้เด็กๆเบื่อ เด็กๆส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารให้ประสานสัมพันธ์กันระหว่างการร้องเพลงและทำท่างประกอบได้ดีกว่าวันที่ 1 เด็กทั้ง 2 กลุ่มร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ร่าเริง แจ่มใส  ยังมีเด็กอยู่ประมาณ 2-3 คนทึ่มีความสนใจเป็นระยะเวลาสั้น จากการสังเกตเด็ก 2-3 คนนี้  เด็กจะชอบใช้อุปกรณ์  เช่น กลอง ฉิ่ง ฯลฯ ในการเล่นกิจกรรมการร้องเพลงหรือการเคลื่อนไหวประกอบเพลง

ปัญหา  มีเด็กอยู่ 2-3 คน ที่มีความสนใจเป็นระยะเวลาสั้นๆ

การแก้ไขปัญหา   นำเด็กร้องเพลงและทำท่าทางพร้อมอุปกรณ์ โดยให้เด็กกลุ่มหนึ่งร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงและอีกกลุ่มหนึ่งใช้อุปกรณ์  เช่น กลอง ฉิ่ง  ฉาบ แทมมิลีน ฯลฯ


เด็กๆร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน  สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารให้ประสานสัมพันธ์กันระหว่างการร้องเพลงและทำท่าทางได้




บันทึกวันที่ 4

สภาพ  กิจกรรมในวันนี้ ได้นำปัญหาของวันที่ 3 มาแก้ไข โดยการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามเพลงใน VCD ที่ครูเปิดให้เด็กๆดู ครูให้เด็กๆดูพร้อมให้เด็กๆร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงตามจังหวะไปด้วย เด็กทุกคนมีความสนใจมากขึ้น ตื่นเต้น ดีใจ  เด็กรู้จักคิดและมีทักษะในการฟัง การมอง การสัมผัส   สามารถร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงตาม VCD ได้ และสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารในการร้องเพลงและทำท่าทางประกอบตามจังหวะได้ประสานสัมพันธ์กันตามวัย เด็กๆส่วนใหญ่สามารถร่วมกิจกรรมกับครูและเพื่อนๆได้ด้วยความสนุกสนาน ร่าเริง แจ่มใส อารมณ์ดี ในขณะเดียวกันก็ยังมีเด็กบางคนมีความสนใจในระยะเวลาสั้น ไม่สนใจที่จะทำท่ทางตามเพลง เมื่อได้ยินจังหวะเพลงขึ้นเด็กก็เต้นอิสระตามความคิดตามจินตนาการของตนเองไปเรื่อย

ปัญหา  เด็กบางคนมีความต้องการเคลื่อนไหวร่างการอิสระตามความคิดตามจินตนาการของตนเอง

การแก้ไขปัญหา  โดยการเปิดเพลงยอดนิยมหรือเพลงยอดฮิตตามกระแสให้เด็กเต้น ทำท่าทาง หรือเคลื่อนไหวร่างกายอิสระตามจินตนาการของตนเอง


  เด็กๆและครูร่วมร้องเพลงในทีวีและทำท่าทางประกอบเพลง กำมือ  ท่าตอนนี้เป็นท่าพับแขนมือแตะไหล่ เด็กๆร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข  สนุกสนาน